จุดเด่นของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คือ การเปิดกว้างให้กับความสนใจของผู้ที่ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนั้นหลักสูตรจึงเปิดรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา นักศึกษาที่ผ่านจึงมีทั้งผู้ที่จบปริญญาตรีทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สื่อสารมวลชน ฯลฯ ซึ่งทำให้หัวข้อวิทยานิพนธ์ของหลักสูตรมีความหลากหลาย อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาที่มีความหลากหลายนั่นเอง
- วิชาที่เปิดสอนโดยคณาจารย์มีความหลากหลาย นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนในวิชาที่ตัวเองสนใจและตรงกับความต้องการของนักศึกษาได้อย่างมากมาย
- เนื้อหาของหลักสูตรเน้นประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของภูมิภาคต่างๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้ระเบียบวิจัยและแนวคิดทฤษฎีของสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์อื่นๆ ซึ่งทำให้ผู้เขียนมีองค์ความรู้ที่นอกเหนือจากประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว
- คณาจารย์ในหลักสูตรมีความเชี่ยวชาญในหลายหัวข้อและภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมือง จึงพร้อมสำหรับการเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ในหัวข้อที่นักศึกษาสนใจได้อย่างเพียงพอ
- เนื่องจากหลักสูตรมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ที่ก้าวหน้าและสร้างนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ที่สามารถตั้งคำถาม ค้นหาคำตอบและอธิบายเรื่องราวเหล่านั้นออกมาได้อย่างสร้างสรรค์และสมเหตุสมผลทางวิชาการ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจึงสามารถประกอบอาชีพได้ทุกวงการที่ต้องการผู้ที่มีทักษะเหล่านี้ทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น วงการการศึกษา วงการหนังสือและสื่อสารมวลชน วงการพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ เป็นต้น
นอกจากการศึกษาในชั้นเรียนแล้ว หลักสูตรยังมีการจัดกิจกรรมสัมมนาทางวิชาการรวมถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนและการเขียนวิทยานิพนธ์อย่างสม่ำเสมอทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และยังส่งเสริมให้นักศึกษาขอทุนสนับสนุนการทำวิจัยสำหรับวิทยานิพนธ์จากองค์กรอย่างเช่นสำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตลอดจนการไปนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษาในเวทีระดับชาติและนานาชาติอีกด้วย
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยในการเรียนได้ เป็นหลักสูตรแบบศึกษาเต็มเวลา นักศึกษาต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร อย่างน้อย 4 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 8 ภาคการศึกษาปกติ ดังนั้นนักศึกษาจึงสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในเวลาตั้งแต่ 2 ถึง 4 ปี ค่าลงทะเบียนตามที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดประมาณภาคการศึกษาละ 16,500 บาท ตลอดทั้งหลักสูตร
ดาวน์โหลดหลักสูตร
นักศึกษาปัจจุบัน
ณัฏฐ์ ปั้นเดช
ณัฏฐ์ ปั้นเดช
หัวข้อวิทยานิพนธ์: “ประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ: การอนุรักษ์และพัฒนาการของประเพณีของคนจีนในปากน้ำโพ ตั้งแต่ ทศวรรษ 2520 - ปัจจุบัน”
รัชนก พุทธสุขา
รัชนก พุทธสุขา
หัวข้อวิทยานิพนธ์ “กีฬาสากลสมัครเล่นภายใต้รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร พ.ศ. 2502-2513”
จตุชัย สิทธิเกียรติปพัช
จตุชัย สิทธิเกียรติปพัช
หัวข้อวิทยานิพนธ์ “การเมืองไทยในระบบรัฐสภา พ.ศ. 2521-2534”
วัฒนา กีรติชาญเดชา
วัฒนา กีรติชาญเดชา
หัวข้อวิทยานิพนธ์ “การค้ายาจีนแผนโบราณในประเทศไทย พ.ศ. 2493-2518”
วรพร วัชชวัลคุ
วรพร วัชชวัลคุ
หัวข้อวิทยานิพนธ์ “การ์ตูนภาพนิ่งไทยร่วมสมัย: กำเนิดและพัฒนาการของการ์ตูนไทยรูปแบบใหม่ในช่วงทศวรรษ 2530-2550”
ณัฐวุธ จารุลักขณา
ณัฐวุธ จารุลักขณา
หัวข้อวิทยานิพนธ์ “รัฐบาลกับการจัดการศาสนสมบัติ พ.ศ. 2475-2505”