วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2559
สวนสนุก: การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจการพักผ่อนหย่อนใจในกรุงเทพ ปีพ.ศ. 2470-2540
โดย ภาสวร สังข์ศร
ดาวน์โหลดได้ที่ http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:90204

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางสังคมกับการสร้างภาพยนตร์ โดยใช้วิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์เพื่ออธิบายบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญาที่เอื้อให้เกิดการสร้างและเลิกสร้างภาพยนตร์แนวสะท้อนสังคม จากการศึกษาพบว่า ในระหว่างทศวรรษ 2510 – 2530 ได้เกิดแนวคิด “ซ้ายใหม่” แนวคิด “ศิลปเพื่อชีวิต” และแนวคิด “หนี้สังคม” ขึ้นในสังคมไทย โดยแนวคิดซ้ายใหม่นั้น ได้กระตุ้นให้บรรดาผู้กำกับภาพยนตร์ร่วมเป็นหนึ่งในฟันเฟืองหลักสำหรับการเปลี่ยนแปลงสังคม ในขณะที่แนวคิดศิลปเพื่อชีวิตนั้น นอกจากจะเรียกร้องให้ผู้กำกับภาพยนตร์ต้องสร้างสรรค์ผลงานเพื่อรับใช้ประชาชนแล้ว ยังได้เสนอแนะให้มีการถ่ายทอดภาพความเลวร้ายของสังคมผ่านภาพยนตร์ด้วย ส่วนแนวคิดหนี้สังคมนั้น ได้กำหนดให้เหล่าผู้กับภาพยนตร์นำเสนอภาพความเลวร้ายของสังคมผ่านปัญหาต่างๆ ที่คนตัวเล็กตัวน้อย หรือคนที่อยู่ยังชายขอบของสังคมต้องประสบพบเจอในแต่ละวัน ด้วยเหตุนี้ แนวคิดทั้งสามจึงได้ก่อให้เกิดภาพยนตร์แนวสะท้อนสังคมขึ้น แต่แล้วเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ก็ได้ทำให้ความเชื่อมั่นต่อแนวคิดทั้งสามต้องสิ้นสุดลง ส่งผลให้การสร้างภาพยนตร์แนวสะท้อนสังคมเริ่มลดจำนวนลงตาม และหายไปในที่สุด