วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2559
การศึกษากระแส "ครูบาคติใหม่" ในภาคเหนือของไทย พุทธทศวรรษ 2530-2550
โดย ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว
ดาวน์โหลด http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:90277

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาปรากฏการณ์การเกิดขึ้นและการขยายตัวของกระแส “ครูบาคติใหม่” ในภาคเหนือของไทยช่วงทศวรรษ 2530-2550 โดยเสนอว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจาก การรับรู้และความเข้าใจต่อเรื่องราวเกี่ยวกับครูบาศรีวิชัยของคนในปัจจุบัน ที่เกิดขึ้นจากกระแส การผลิตซ้ำและสร้างภาพลักษณ์ครูบาศรีวิชัยตั้งแต่ทศวรรษ 2470 และ ถูกตอกย้ำด้วยกระแสล้านนานิยมในทศวรรษ 2530 ทำให้ครูบาศรีวิชัยกลายเป็นการรับรู้และความเข้าใจหลักในฐานะบุคคลสาคัญของท้องถิ่น เกจิสำคัญรูปหนึ่งของพุทธศาสนาไทย และ กลายเป็นต้นแบบและความหมายของคำว่า “ครูบา”ความเข้าใจดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งในภาคเหนือพยายามเชื่อมโยงตนเองกับภาพลักษณ์ของครูบาศรีวิชัย ซึ่งในงานวิจัยนี้เรียกพระสงฆ์กลุ่มดังกล่าวว่า “ครูบาคติใหม่” โดยการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 บท (ไม่รวมบทนาและบทสรุป) บทที่ 2 เป็นการศึกษาพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่า “ครูบา” ในวัฒนธรรมล้านนา โดยมีจุดเริ่มต้นจากการตั้งข้อสังเกตต่อการเพิ่มขึ้นจานวนมากของการนำคำดังกล่าวไปใช้ในกลุ่มพระสงฆ์ในภาคเหนือ หรือที่เรียกว่า “กลุ่มครูบาคติใหม่” บทที่ 3 เป็นการศึกษากระแสการผลิตซ้ำและการสร้างภาพลักษณ์ของครูบาศรีวิชัยที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 2470 และยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เพื่อให้เห็นพื้นฐานการรับรู้และความเข้าของคนในปัจจุบันต่อคำว่า “ครูบา” และ “ครูบาศรีวิชัย” โดยมีข้อสังเกตที่เกิดจากกลุ่มพระสงฆ์ในภาคเหนือที่มักนำเสนอและเชื่อมโยงตัวเองกับเรื่องราวของครูบาศรีวิชัย ซึ่งทั้ง 2 บทนี้สามารถตอบคำถามได้ว่ากระแส “ครูบาคติใหม่” เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และ “ครูบาคติใหม่” มีลักษณะอย่างไร บทที่ 4 และ 5 เป็นการศึกษาให้เห็นถึงการขยายตัวของกลุ่มครูบาคติใหม่ในสังคมปัจจุบัน โดยบทที่ 4 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวังที่เกิดจากพื้นฐานความเชื่อทางศาสนาและความไม่มั่นคงในการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบัน อันเป็นแรงจูงใจที่ทำให้คนในสังคมเลือกที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้ศรัทธาครูบาคติใหม่ และบทที่ 5 เป็นการศึกษาการปรับตัวและการนำเสนอภาพลักษณ์ตัวตนของครูบาคติใหม่ที่สามารถสอดรับและตอบสนองความคาดหวังของผู้คนในสังคมได้อย่างลงตัว สามารถดึงดูดความสนใจและความศรัทธาของผู้คนให้แก่ตัวของครูบาคติใหม่เพิ่มมากยิ่งขึ้น