วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2558
ประวัติศาสตร์เด็กและวัยเด็กช่วงต้นรัตนโกสินทร์ถึงการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
โดย ภาคิน นิมมานนรวงศ์
ดาวน์โหลดได้ที่ http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:92339
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาประวัติศาสตร์เด็กและวัยเด็กช่วงต้นรัตนโกสินทร์ถึงการปฏิรูป การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมุ่งชี้ให้เห็นบทบาททางประวัติศาสตร์อื่นๆ ของเด็กและวัยเด็ก นอกเหนือจากการถูกควบคุมจัดการโดยรัฐและอุดมการณ์ชาตินิยม เราอาจมองเห็นถึงบทบาทเหล่านี้ ได้ดียิ่งขึ้นด้วยการพิจารณาความหมายที่ซ้อนทับกันอยู่ของคำว่า “เด็ก” ทั้งในแง่กายภาพ ปรัชญา และความสัมพันธ์ทางสังคม ขณะเดียวกัน งานวิจัยพยายามปรับใช้แนวคิดเรื่องตัวแบบทาง ประวัติศาสตร์และองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างสาขาเพื่อชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการศึกษา ประวัติศาสตร์เด็กและวัยเด็กในมิติชีววัฒนธรรม เนื้อหางานวิจัยแบ่งออกเป็น 4 บท (ไม่รวมบทนำ และบทสรุป) บทที่ 2 มุ่งปูพื้นฐานเกี่ยวกับข้อถกเถียงและช่องว่างของการศึกษาประวัติศาสตร์เด็ก และวัยเด็กในต่างประเทศและในไทย บทที่ 3 ศึกษาวิถีชีวิตและทัศนะเกี่ยวกับธรรมชาติเฉพาะของ เด็กที่ปรากฏผ่านเครือข่ายของภาษา พิธีกรรม ตลอดจนโลกชีวิตของผู้คนในกลุ่มสังคมไทยซึ่งสัมพันธ์ กันภายใต้ความเชื่อแบบพุทธ-พราหมณ์-ผีและวิถีการผลิตแบบเกษตรกรรม บทที่ 4 พิจารณามิติทาง ชีววัฒนธรรมของการครองราชย์ของยุวกษัตริย์และการท างานของชุมชนคนเด็กคนหนุ่มในช่วงต้น รัชกาลที่ 5 อันสะท้อนถึงความสำคัญของเด็กในความหมายทางปรัชญาและความสัมพันธ์ทางสังคม ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ บทที่ 5 ศึกษาการปรากฏตัวของแนวคิดเกี่ยวกับช่วงวัยของมนุษย์ ลักษณะใหม่ อันเป็นรากฐานทางการรู้คิดของการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก การ ท าให้เด็กกลายเป็นปริศนาสำหรับผู้ปกครอง และการจำแนกพื้นที่ของเด็กออกจากผู้ใหญ่ นับตั้งแต่ ช่วงการปฏิรูปการปกครองเป็นต้นมา