วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2531
การเมืองกับกฎหมายการพิมพ์ (พ.ศ.2453 - 2487)
โดย รัตนา เมฆนันทไพศิฐ
ดาวน์โหลดได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:125323

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งจะศึกษาสภาพการเมืองในระหว่าง พ.ศ. 2453 - 2487 โดยผ่านกฎหมายการพิมพ์ 5 ฉบับ ทั้งนี้เป็นกฎหมายการพิมพ์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช 2 ฉบับ และในสมัยประชาธิปไตย 3 ฉบับ ดังนี้คือ

ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีดังนี้

1. พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2465 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

2. พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร และะหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2476 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในสมัยประชาธิปไตย มีดังนี้

3. พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร และะหนังสือพิมพ์ แก้ไขและเพิ่มเติมพ.ศ. 2475 ในสมัยรัฐบาลคณะกรรมการราษฎร

4. พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2476 ในสมัยรัฐบาลพระยาพหลพลพยุนเสนา

5. พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม

 ทั้งนี้โดยศึกษาความเป็นมาและเนื้อหาของกฎหมาย รวมทั้งการใช้กฎหมายควบคุมหนังสือพิมพ์ของรัฐบาล

จากการศึกษาพบว่า ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา หนังสือพิมพ์ได้มีบทบาทในการเรียกข้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การชี้ข้อบกพร่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้น บทบาทเหล่านี้ของหนังสือพิมพ์ได้ก่อปัญหาสร้างความสั่นคลอนให้กับความชอบธรรมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังนั้นจึงผลักดันให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายการพิมพ์มา เพื่อควบคุมบทบาททางการเมืองของหนังสือพิมพ์

ในสมัยประชาธิปไตย สภาพการเมืองภายหลังการปฏิวัติเกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มกษัตริย์นิยม หรือกลุ่มอำนาจเติมกับคณะราษฎร และปรากฏว่าฝ่ายกษัตริย์นิยมได้ใช้หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองกับคณะราษฎร จึงเป็นสาเหตุที่ผลักดันให้คณะราษฎรต้องออกกฎหมายการพิมพ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อควบคุมหนังสือพิมพ์ อย่างไรก็ตาม ภายหลังการปราบกบฏบวรเดช อันมีผลทำให้กลุ่มกษัตริย์นิยมลดบทบาททางการเมืองลง แต่รัฐบาลกลับควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด ทำให้มีการเคลื่อนไหวในหมู่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการแก้ไขความเข้มงวดของกฎหมายการพิมพ์ จึงผลักด้นให้รัฐบาลออกกฎหมายฉบับใหม่โดยแก้ไขความเข้มงวดบางประการลง แต่ภายหลังที่ประเทศไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 กับฝ่ายอักษะ ซึ่งมีประชาชนบางกลุ่มคัดด้าน เช่น นักหนังสือพิมพ์ รัฐบาลก็หันกลับไปควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวดอีกครั้ง

ดังนั้นจึงสรุปสภาพการเมืองในช่วง พ.ศ. 2453-2487 โดยการศึกษาผ่านกฎหมายการพิมพ์ได้ดังนี้ ก่อนการปฏิวัติเมื่อ พ.ศ. 2475 ในสังคมไทยได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองในหมู่ราษฎร โดยผ่านหนังสือพิมพ์ ดังนั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพและความชอบธรรมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฐบาลจึงออกกฎหมายการพิมพ์เพื่อควบคุมบทบาทของหนังสือพิมพ์

ภายหลังการปฏิวัติเมื่อ พ.ศ. 2479 การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลคณะราษฎรและกลุ่มอำนาจเดิมยังคงดำเนินอยู่ทั้งในแง่การเมืองและในรูปแบบการต่อสู้ทางความคิดระหว่างนักหนังสือพิมพ์ กลุ่มที่สนับสนุนและกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลคณะราษฎรอย่างชัดเจน ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐบาลคณะราษฎร รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายการพิมพ์ควบคุมหนังสือพิมพ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น แต่ภายหลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช ฐานะของรัฐบาลมีความมั่นคงมากขึ้น รัฐบาลจึงยอมออกกฎหมายการพิมพ์ที่ผ่อนคลายความเข้มงวดบางประการลง แต่ก็ยังคงให้อำนาจบางประการแก่เจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมหนังสือพิมพ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลยังไม่ไว้วางใจต่อสถานการณ์ทางการเมืองอย่างเต็มที่ จึงยังต้องการเครื่องมือควบคุมหนังสือพิมพ์อยู่