วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2531
กรมท่ากับระบบเศรษฐกิจไทย : วิเคราะห์โครงสร้างการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่สมัยธนบุรีถึงการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง พ.ศ.2310 - 2398
โดย อดิศร หมวกพิมาย
ดาวน์โหลดได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:114669
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่อง "กรมท่ากับระบบเศรษฐกิจไทย : วิเคราะห์โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่สมัยธนบุรีถึงการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง พ.ศ. 2310-2398" มุ่งจะอธิบายปัญหาความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ว่าระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงตันรัศนโกสินทร์ถูกกำหนดจากปัจจัย 2 ประการ คือ ปัจจัยว่าด้วยพลวัตรภายในสังคมไทยที่มีความตื่นตัวต่อการค้าต่างประเทศ ในฐานะที่การค้าต่างประเทศเป็นแหล่งที่มาของรายได้หลักของไทย และปัจจัยว่าด้วยการขยายตัวเข้าสู่เอเชียของ จักรวรรดินิยมและการค้าเสรี ซึ่งการค้าต่างประเทศของไทยได้เข้าไปผูกพันอยู่ด้วย
กิจกรรมการค้าต่างประเทศที่กระทำกันในช่วงต้นรัตนโกสินทร์นี้ ถูกดำเนินการอยู่ในโครงสร้างระบบราชการกรมท่า ดังนั้น ระบบราชการของกรมท่าจึงถูกศึกษาอย่างละเอียด ซึ่งปรากฏว่า ด้วยลักษณะพิเศษบางประการของระบบราชการกรมท่า ทำให้มีผลเอื้อแก่การขยายตัวทางการค้าต่างประเทศอย่างมากมาย
เส้นทางการตลาดต่างประเทศของไทยเป็นเส้นทางที่มีพัฒนาการสัมพันธ์กับ พัฒนาการของรูปแบบการผลิต กล่าวคือ เมื่อตลาดการค้าต่างประเทศขยายตัวออกไปได้ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการผลิตจากรูปแบบการผลิตเพื่อการตลาด ไปสู่รูปแบบการผลิตเพื่อการส่งออก ทั้ง ๆ ที่ส่วนใหญ่ของโครงสร้างสังคมไทยยังคงมีวิถีการผลิตเพื่อการยังที่พอยู่และความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการตลาดและการผลิต ได้สร้างความพร้อมบางประการแก่การพัฒนาของกลุ่มชน ที่จะกลายเป็นนายทุนข้าราชการภายในโครงสร้างระบบราชการกรมท่าในเวลาต่อมา
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทย เป็นความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นพร้อมกันไปในระบบราชการกรมท่า นั่นคือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแก่โครงสร้างในระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดโดยพระมหากษัตริย์ แนวโน้มของความเปลี่ยนแปลงเริ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 24 เมื่อการค้าต่างประเทศของไทยได้สัมผัสและผูกพันเข้ากับการขยายตัวของการค้าเสรีในบริเวณที่เรียกว่า British Straits Settlement ช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เป็นช่วงแห่งการต่อสู้นอกรูปแบบระหว่างระบบราชการกรมท่ากับพ่อค้าอังกฤษใน B.S. S. ในขณะที่ฝ่ายไทยจะฉุดรั้งการปฏิรูประบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดให้หยุคอยู่เพียงการผูกขาดทางอ้อมผ่านระบบเจ้าภาษีนายอากร ทางฝ่ายอังกฤษใน B.S.S. ก็พยายามดึงให้ระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดโดยพระมหากษัตริย์ต้องถูกขจัดหมดสิ้นไป สนธิสัญญาเบาวร์ริ่ง ปี พ.ศ. 2398 เป็นชัยชนะแห่งการต่อสู้ของฝ่ายอังกฤษ และลมหายใจของกรมท่าก็สิ้นสูญไปพร้อมกับระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดโดยพระมหากษัตริย์ กรมท่าถูกลดบทบาทเพียงการคลัง การภาษีอากร และการทูต
ในขณะที่การค้าต่างประเทศได้สร้างผลกระทบแก่ระบบเศรษฐกิจ การค้า ต่างประเทศก็ได้สร้างผลกระทบต่อชุมชนด้วย สิ่งหนึ่งที่สำคัญจากผลกระทบนี้ ก็คือการก่อตัวของหน่ออ่อนทุนนิยมที่ฝังอยู่ในระบบราชการ ซึ่งจะพัฒนาต่อไปพรอัมกับการหลั่งไหลเข้ามาของหุ่นตะวันตก
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเป็นการพิสูจน์พลวัตรภายในสังคมไทย ซึ่งให้การวิเคราะห์ถึงภูมิหลังองเหตุและปัจจัยของความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจไทย ว่า การค้า ต่างประเทศในระบบราชการของกรมท่า คือ ปัจจัยสำคัญ ของความเปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจผูกขาดโดยพระมหากษัตริย์ ไปสู่การก่อตัวของทุนนิยมข้าราชการที่จะพัฒนาไปเป็นระบบเศรษฐกิจผูกขาดในรูปแบบอื่นต่อไป