วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2531
การประกวดนางสาวไทย (พ.ศ.2477 - 2530)
โดย สุพัตรา กอบกิจสุขสกุล
ดาวน์โหลดได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:138443
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงการจัดประกวดนางสาวไทยที่เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2477-2530 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการศึกษาถึงการ์ปรับเปลี่ยนบทบาททางสังคมของสตรีไทยที่มีผลต่อการประกวดนางสาวไทย ลักษณะการจัดประกวดนางสาวไทยในแต่ละยุค และท้ายสุดคือปัญหาและผลกระทบของการประกวดนางสาวไทยที่มีในตัวของมันเองและที่มีต่อสังคม การศึกษาเรื่องการประกวดนางสาวไทยได้แบ่งระยะการศึกษาออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2477-2483 และ พ.ศ. 2491-2497 ยุคที่สองตั้งแต่ พ.ศ. 2507-2515 และยุคสุด-ท้ายตั้งแต่ พ.ศ. 2527-2530
ในด้านวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ และเสนอรายงานในเชิงพรรณาวิเคราะห์ทั้งนี้โดยอาศัยการค้นคว้าข้อมูล 3 ประเภท ด้วยกันคือ เอกสารชั้นต้นได้แก่เอกสารทางราชการ หนังสือพิมพ์ เอกสารชั้นสองจากตำรา หนังสือ วารสาร ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และท้ายสุดคือ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกวดนางสาวไทย
จากการศึกษาพบว่า ก่อนหน้าที่จะมีการประกวดนางสาวไทยใน พ.ศ. 2477 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหมู่สตรีไทย โดยเริ่มขึ้นในกลุ่มชนชั้นสูงและแพร่กระจายมาสู่ชนชั้นกลาง และต่ำตามลำดับ สตรีไทยมีการปรับเปลี่ยนบทบาทและสถานภาพในสังคมอย่างเด่นชัด อันเป็นผลเนื่องมาจากการปฏิรูปการศึก-ษาแบบตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและในสมัยต่อ ๆมา การศึกษาทำให้สตรีไม่ได้มีบทบาทแต่เพียงในบ้าน แต่เพิ่มบทบาทในการประ-กอบอาชีพและการสังคมภายนอกอีกด้วย นอกจากการศึกษาแล้ว กระบวนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการแต่งกาย และการเสริมความงามให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก ที่วางรากฐานมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในสมัยต่อ ๆ มา ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพ ตลอดจนมาตรฐานความงามแบบใหม่ของสตรีไทย ทำให้สถานะทางสังคมของสตรีไทยมีการเปลี่ยนแปลงไป นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา เพราะการประกอบอาชีพนอกบ้านจะนำไปสู่การมีตำแหน่งและสถานภาพในสังคมในลำดับต่าง ๆ กัน การออกสู่สัง-คมภายนอกทำให้สตรีต้องมีการเสริมบุคลิกภาพของตนเอง ทั้งในด้านการแต่งกายการเสริมความงาม ตลอดจนการเข้าสมาคมกับบุคคลอื่น ๆ รวมทั้งสร้างความมั่นใจในตนเอง และมีความกล้าในการแสดงออกด้วยวิธีการต่าง ๆ วิถีชีวิตตลอดจน บุคลิกภาพและมาตรฐานความงามของสตรีไทยแบบใหม่นี้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่รองรับให้เกิดกิจกรรมการประกวดนางสาวไทยขึ้นในแต่ละยุคสมัย
การจัดประกวดนางสาวไทยในยุคแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2477-2497 เป็น กิจกรรมของทางราชการ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อให้นางสาวไทยช่วยสนับสนุนและประชาสัมพันธ์นโยบายของทางราชการ และจุดมุ่งหมายเพื่อให้นางสาวไทยเป็น สื่อความบันเทิง ดึงความสนใจผู้คนมาเที่ยวงานฉลองรัฐธรรมนูญ อันเป็นงานเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย จากจุดมุ่งหมายดังกล่าวทำให้กระบวนการในการจัดประกวดนางสาวไทยทุกขั้นตอนเป็นเรื่องของทางราชการ ทั้งด้านการสรรหาสตรีเข้าประกวด การกำหนดการแต่งกาย กรรมการตัดสิน ตลอดจนเงินรางวัล เป็น ต้น ผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยถือเป็นบุคคลที่ได้รับเกียรติสูงในลังคม และมีบทบาทในการช่วยราชการและช่วยชาติที่สำคัญบุคคลหนึ่ง
ความเปลี่ยนแปลงในการจัดประกวดนางสาวไทย เกิดขึ้นในยุคที่สอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2507-2515 อันเป็นผลเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนนโยบายความ สัมพันธ์ต่างประเทศ ที่ผูกพันอยู่กับสหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นำผ่ายโลกเสรี จึงทำให้รัฐบาลวางนโยบายภายในประเทศที่สอดคล้องกัน โดยเน้นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา ภายใต้บรรยากาศของเศรษฐกิจทุน นิยมที่ขยายตัวขึ้น กิจกรรมเศรษฐกิจด้านความบันเทิงและด้านความงาม ฯลฯ เฟื่องฟูมากขึ้น และแปรเปลี่ยนไปรับมาตรฐานของวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ปรากฏการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการประกวดนางสาวไทยอย่างเด่นชัด จุดมุ่งหมายของการประกวดนางสาวไทยได้แปรเปลี่ยนไป เพื่อให้นางสาวไทยเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักของชาวโลก โดยการเป็นตัวแทนของประเทศเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาลที่สหรัฐอเมริกา อันจะเป็นประโยชน์ทั้งด้านธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจอื่น ๆ ของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน จุดมุ่งหมายดังกล่าวจึงทำให้กระบวนการจัดประกวดนางสาวไทยแปรเปลี่ยนตามไปด้วย เอกชนเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้จัด และวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆในการประกวด ผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยก็มิใช่มีหน้าที่ในทางราชการเท่านั้น อีกต่อไป แต่ยังทำหน้าที่ในฐานะสื่อการโฆษณาสินค้าอีกด้วย และผลของการแปรเปลี่ยนของกิจกรรมนี้ ยังก่อให้เกิดธุรกิจประกวดความงามขึ้นในสังคมไทย
กิจกรรมการประกวดนางสาวไทยแปรเปลี่ยนไปในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคที่สาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2527-2530 อันเป็นผลเนื่องมาจาก พัฒนาการเทคโนโลยีการสื่อสารและคมนาคม ธุรกิจการโฆษณาสินค้า ธุรกิจการ จัดประกวดความงาม ตลอดจนการเปลี่ยนทัศนคติของสังคมที่มีต่อการประกวดความงามของสตรี ทำให้การประกวดนางสาวไทย มีจุดมุ่งหมายเพื่อการค้าอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งผู้จัดงาน ผู้ส่งนางงามเข้าประกวด ตลอดจนตัวนางงามเองกระบวนการจัดกิจกรรมดังกล่าว เอกชนเข้ามามีบทบาทอย่างเต็มที่ และเพื่อผลประโยชน์ในด้านธุรกิจในทุกขั้นตอนนับตั้งแต่การจัดหานางงาม กิจกรรมที่นางงามจะต้องทำในระหว่างการประกวด การแต่งกายและการเสริมความงาม การกำหนดคัดเลือกกรรมการผู้ตัดสินและเกณฑ์ในการตัดสิน ตลอดจนเงินรางวัลของผู้ที่ได้ตำแหน่งนางสาวไทย หน้าที่ของผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยก็มิได้มุ่งเน้นเพื่อราชการหรือช่วยชาติอีกต่อไป แต่มีหน้าที่ทางด้านธุรกิจในฐานะสื่อโฆษณาสินค้าอย่างเต็มรูป
นอกเหนือจากการศึกษาปัจจัย จุดมุ่งหมาย และกระบวนการของการประกวดนางสาวไทยแต่ละยุคสมัยดังกล่าวแล้ว จากการศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังพบว่าการประกวดนางสาวไทยที่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2477-2530 นั้น นอกเหนือจากจะมีปัญหาในด้านกระบวนการจัดงานแล้ว ยังพบว่าการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีผลกระทบต่อลังคมอย่างมาก ในระดับบุคคล การได้ตำแหน่งนางสาวไทยหมายถึงการเปลี่ยนบทบาทและสถานภาพในสังคม ทำให้มีโอกาสที่ดีในชีวิต ทั้งด้านการประกอบอาชีพและการมีคู่ครอง โอกาสเหล่านี้จึงทำให้เวทีประกวดนางสาวไทยเป็นเสมือนหนทางการไต่เต้าทางสังคมของสตรีที่มีรูปสมบัติ แม้จะต้องชดเชยกับ ทัศนคติทางลบของสังคมคนบางกลุ่มที่มองนางสาวไทยในฐานะ "สวยแต่ไร้สมอง" ก็ตาม ในระดับสังคมองค์รวม การประกวดนางสาวไทยได้ส่งผลให้เกิดธุรกิจและอาชีพการประกวดความงาม ก่อให้เกิดรายได้แก่รัฐและเอกชน ตลอดจนการแปรเปลี่ยนมาตรฐานความงามของสตรีไทยในสังคม แต่อีกแง่มุมหนึ่ง การเกิดและการแปรรูปของกิจกรรมดังกล่าว แสดงถึงทัศนะของสังคมที่ยังคงมองสตรีเพศในฐานะความเป็น " สื่อ " ในโอกาสหรือวาระต่าง ๆ อันแสดงถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศที่ปรากฏอยู่ นอกจากนั้นแล้วจากการศึกษาการแปรเปลี่ยนหน้าที่ความรับ ผิดชอบของนางสาวไทยในแต่ละยุค ยังแสดงถึงสถานภาพของสตรีที่อยู่ในตำแหน่งนางสาวไทยในสาธารณกุศลและ โฆษณาสินค้า และมาสู่ "วัตถุ" ในยุคที่สาม ในบทบาทสื่อโฆษณาสินค้า จากสภาพ "บุคคล" มาสู่ "วัตถุ" แสดงถึงความแปรเปลี่ยนไปของสถานภาพสตรีกลุ่มนี้ ในเชิงความตกตำลงไปสู่ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ถือว่า "ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน" ผู้หญิงถือเสมือน "วัตถุ" ที่ถูกผู้ชายผู้เป็นบิดาและสามีขาย หรือยกให้ใครก็ได้โดยไม่มีอำนาจต่อรอง เช่นเดียวกับนางสาวไทยในยุคที่สามที่ไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ ในทางธุรกิจเลยอีกแง่มุมหนึ่ง จากความเป็น "บุคคล" ผู้ได้รับเกียรติของชาติใน ยุคแรก มาสู่ความเป็น "กึ่งบุคคล กึ่งวัตถุ" ในยุคที่สอง ในบทบาทของผู้ทำงาน