โดย วิราวรรณ นฤปิติ 

ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์

สำนักพิมพ์ มติชน, 2560

ประเทศไทยรับพุทธศาสนาเถรวาทผ่านศรีลังกา ทั้งสองประเทศรับส่งหยิบยืมทั้ง จารีตและคัมภีร์ ศาสนากันไปมาอยู่ตลอดเวลา พุทธศาสนาลังกาวงศ์เข้ามาเฟื่องฟูในไทยผ่านทางอาณาจักรหริภุญไชยล้านนาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเส้นสายที่ส่งอิทธิพลมาถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ผู้ฟื้นฟูพุทธศาสนาขึ้นในยุครัตนโกสินทร์ ศาสนาในอาณาจักรใหม่นี้จึงรับอิทธิพลคัมภีร์ภาษาบาลีจากศรีลังกาโดยตรง ซึ่งรวมไปถึงอรรถกถาคัมภีร์ ที่แต่งโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ องค์ความรู้ที่ส่งอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงคือเรื่อง ปัญจอันตรทาน หรือความคิดที่ว่าเมื่อพุทธศาสนาล่วงมาถึง 5,000 ปี ศาสนาจะถึงการอันตรทานไป ศีลธรรมของผู้คนจะเสื่อม พระพุทธรูป วัดวาอาราม เจดีย์ จะพังลง ต่อมาความคิดนี้จะพัฒนามาเป็นพื้นฐานความคิดทางการเมืองที่สำคัญยิ่ง เมื่อ พ.ศ 2500 หรือปีพุทธชยันตี หรือปีกึ่งพุทธกาล ซึ่งส่งอิทธิพลไปยังประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาททั้ง ลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา

ศาสนาและการเมือง สองสิ่งนี้เป็นพื้นฐานทางจารีตและการปฏิบัติของชนชั้นปกครองที่เป็นเนื้อเดียวกัน พระมหากษัตริย์ในพุทธศาสนาในฐานะจักรวาทิน หรือราชาผู้หมุนกงล้อธรรม จึงมีหน้าที่สนับสนุนการเผยแผ่และปกป้องศาสนาควบคู่ไปกับงานบริหารบ้านเมือง จึงเป็นที่มาของเหตุผลของการฟื้นฟูศาสนาขึ้นใหม่จากยุคก่อนหน้าที่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงทางการเมืองของรัชกาลที่ 1 ทั้งการสังคายนาพุทธศาสนา แต่งตั้งคณะสงฆ์ใหม่ และเก็บรวบรวมพระพุทธรูป สร้างอาณาจักรศักดิ์สิทธิ์แห่งใหม่สำหรับพุทธศาสนา  

(ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง แนวคิดการรวบรวมพระพุทธรูปช่วงสร้างกรุงเทพฯ ถึงรัชกาลที่ 5. )

โดย ผศ.ศุภวิทย์ ถาวรบุตร

สำนักพิมพ์ Illuminations Editions

“...สังคมไทยอาจเคยชินที่จะคิดว่าคณิตศาสตร์คือการคำนวณ เป็นการเรียนเพื่อมุ่งจะหาคำตอบว่าบรรดาสมการหรือวิธีคิดอันซับซ้อนต่างๆ เมื่อคำนวณแล้วท้ายที่สุดจะต้องได้ ‘คำตอบ’ ออกมา เป็นโจทย์ที่ต้องเฉลย  ซึ่งเป็นการมองโดยเน้นที่ ‘ผลลัพธ์’ และ ‘การใช้ประโยชน์’   ทั้งที่ในความเป็นจริง หัวใจของการศึกษาคณิตศาสตร์คือการอาศัยตรรกะเพื่อนำไปสู่คำตอบที่เชื่อถือได้ว่าถูกต้อง 

ความสำคัญของคณิตศาสตร์อยู่ที่ ‘กระบวนการ’ ไม่ใช่ ‘ผลลัพธ์’ เพราะกระบวนการจะเป็นตัวชี้ให้เห็นว่า วิธีคิดใดมีตรรกะรองรับและตรรกะนั้นถูกต้องหรือไม่   หากเปรียบการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ใดๆ  เป็นเหมือนการเดินทาง การคำนวณด้วยตัวเลขให้ได้ผลลัพธ์ถือเป็นเพียงก้าวสุดท้ายของการเดินทาง ขณะที่การคิดตามตรรกะเชิงคณิตศาสตร์คือทุกก้าวก่อนหน้านั้น...”

“มองอย่างกว้างๆ หนังสือเล่มนี้มีข้อเสนอหลักว่า การเกิดและเติบโตของวิทยาศาสตร์ในสังคมตะวันตกเป็นการเติบโตทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เป็นมากกว่าชัยชนะขององค์ความรู้ในแบบปฏิบัตินิยม    ภายใต้สถานการณ์ที่สังคมยุโรปข้ามพ้นโลกทัศน์เก่าในช่วงเวลาสำคัญที่สุดทางภูมิปัญญา แนวคิดและสถาบันต่างๆ ปะทะกันจนกระทั่งสถาปนากรอบคิดที่เป็นแก่นของระบบภูมิปัญญาสมัยใหม่ได้   หนังสือนี้สนใจเรื่องราวที่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการดังกล่าวและนำแนวทางมาใช้สำรวจต้นกำเนิดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เข้าใจประวัติศาสตร์ทางความคิดในช่วงเวลานั้น”

Q&A ศุภวิทย์ ถาวรบุตร ผู้เขียน ‘กุญแจแห่งฟากฟ้า: เรขาคณิตวิเคราะห์ จากกรีกโบราณถึงนิวตัน’

Q: ช่วยเล่าเรื่องของตัวเองเล็กน้อย ว่าทำไมจบปริญญาตรี จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในปี 41 ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 แต่กลับเลือกมาทำปริญญาโทต่อที่ภาควิชาประวัติศาสตร์ มธ. จนจบในปี 46? คือก่อนต่อโท อาจารย์ยังมีโอกาสทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ (ISEP) และได้ใช้วิชาที่เรียนมาทางเศรษฐศาสตร์อีกด้วย ทำไมไม่เลือกเรียนโทต่อในคณะเศรษฐศาสตร์ แต่กลับมาเรียนต่อที่ภาคประวัติศาสตร์
A: ผมชอบเศรษฐศาสตร์นะ ขณะที่เรียนก็สนุกกับมันอย่างเต็มที่ เรียนจบทำงานก็ค่อนข้างตรงสายอีก แต่ส่วนตัวชอบประวัติศาสตร์มานาน ซึ่งชอบแบบงูๆ ปลาๆ ชอบอ่านแต่ไม่ได้คิดจะยึดเป็นวิชาชีพ และสมัยเรียน ป.ตรี เคยมีโอกาสมาลงวิชาประวัติศาสตร์บ้าง เจอกับอาจารย์ที่สอนเก่ง มีเกร็ดความรู้เยอะ จึงรู้สึกว่าการเรียนประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยสนุก ไม่เหมือนเรียนในโรงเรียน...
 
อ่านฉบับเต็มได้ใน 

 

โดย รศ.ดร.นภดล ชาติประเสริฐ

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทที่ 1 ประวัติศาสตร์บรูไนก่อนได้รับเอกราชใน ค.ศ.1984 โดยสังเขป

บทที่ 2 การรักษาเสถียรภาพหลังได้รับเอกราช (ค.ศ.1984-1988)

บทที่ 3 การเพิ่มบทบาทในประชาคมโลก (ค.ศ.1989-1996)

บทที่ 4 โอกาสและความท้าทายท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ (ค.ศ.1997-2003)

บทที่ 5 การปรับเปลี่ยนทางการเมืองและฟื้นฟูเศรษฐกิจ (ค.ศ.2004-2011)

บทที่ 6 การปรับเปลี่ยนเพื่อเผชิญกับความท้าทายในทศวรรษใหม่ (ค.ศ.2012-2017)

บทที่ 7 สรุป

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

โดย รศ.ดร.จุฬาพร เอื้อรักสกุล

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561

ตำราเล่มนี้ครอบคลุมภาพรวมทั้งหมดของสหภาพยุโรปตั้งแต่ก่อตั้งจนถึง ค.ศ.1992 สาระสำคัญคือ การศึกษา/วิเคราะห์ปัจจัยและบริบทที่ทำให้เกิดนโยบายสำคัญและผลกระทบของนโยบายต่อองค์กรและบูรณาการโดยรวม วิธีการศึกษาคือประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

สหภาพยุโรปเป็นองค์กรข้ามชาติที่โดดเด่นยิ่งกว่าองค์กรอื่น คือ เป็นองค์กรเหนือชาติที่ทุกประเทศสมาชิกยอมรับให้กฎหมายของสหภาพยุโรคเป็นกฎหมายสูงสุด สมาชิกแทบทั้งหมดใช้เงินสกุลเดียวคือ ยูโร ซึ่งเป็นสกุลเงินที่มีความสำคัญสูงของโลก ขณะนี้ พลเมืองของสมาชิก 27 ประเทศรวมทั้งหมดประมาณ 500 ล้านคนได้ถูกสร้างให้เป็น "พลเมืองยุโรป" และสามารถเดินทางอย่างเสรีใน "พื้นที่เชงเกน" หรือพื้นที่ที่ยกเลิกการควมคุมเขตแดนระหว่างสมาชิก กระบวนการบูรณาการที่ก้าวหน้ายิ่งได้เป็นปาฏิหาริย์ที่พลิกให้สหภาพยุโรปเป็นดินแดนที่มีสันติภาพที่ยั่งยืนที่สุดของโลกในวันนี้

Page 2 of 3